วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2550

อาจารย์วิวรรธ์ จันทร์เทพ








ประติมากรรมรูปเคารพ แสดงถึงความเชื่อในเรื่องใด
ประติมากรรมรูปเคารพ
ประติมากรรมรูปเคารพ เป็นงานศิลปกรรมเพื่อแสดงความเชื่อทางศาสนาเป็นหลักใหญ่ โดยเฉพาะพระพุทธศาสนาเป็นหลักใหญ่ โดยเฉพาะพระพ ุทธศาสนา เป็นการรับใช้พระพุทธศาสนาในทางศิลปะด้วยงานศิลปกรรม เนื่องจากสังคมไทย มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาอย่างลึกซึ ้ง และมีมานานก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 จนถึงปัจจุบัน จึงเชื่อคำสั่งสอนของพุทธศาสนาอย่างฝังใจ ได้แก่ เชื่อในพระรัตนตรัยเชื่อในการกระทำของมนุษย์ว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เชื่อในความจริง ตลอดจนเชื่อความศักดิ์สิทธิ์และอภินิหารต่างๆ รูปแบบของประติมากรรมจึงเป็น รูปทรงแห่งวัตถุที่ได้รับ การสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อเป็นสิ่งแทน เป็นสิ่งพรรณนาความรู้สึกอุดมคติ และความเชื่อที่เป็นนามธรรมออกมาเป็นรูปธรรม
อาจแบ่งประติมากรรมรูปเคารพตามลักษณะของการแสดงออกได้ 2 ประเภทคือ ประติมากรรมรูปคน และประติมากรรมรูปสัญลักษณ์
ประติมากรรมรูปคน ในประเทศไทยพบประติมากรรมรูปที่เป็นรูปเคารพตามคติทางศาสนาต่าง ๆ คือ เทวรูปในศาสนาฮินดู พระพุท ธรูปและ พระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนาลัทธิมหายานและพระพุทธรูปในพุทธศาสนาลัทธิหินยานหรือเถรวาท ประติมากรรมรูปคนที่สร้าง ขึ้นเพื่อเค ารพบูชานี้ถือ การสร้างพระพุทธรูปเป็นประติมากรรมรูปคนที่สำคัญและมีการสร้างสรรค์เป็นจำนวนมากที่สุด
ประติมากรรมรูปสัญลักษณ์ เป็นประติมากรรมที่ได้รับรากฐานอิทธิพล การสร้างมาจากอินเดียโบราณภายหลังพระพุทธองค์เ สด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ได้มีการสร้างรูปเคารพแสดงเรื่องราวทางพุทธศาสนาเป็นพุทธประวัติขึ้น

http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK14/chapter3/t14-3-l1.htm

พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) พระประธานพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ประติมากรรมที่เป็นปูชนียวัตถุที่สำคัญของไทย

http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK14/chapter3/t14-3-l1.htm

พระศาสดา พระประธานพระวิหารพระศาสดา วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานครปางมารวิชัย ศิลปะสมัยสุโขทัย

http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK14/chapter3/t14-3-l1.htm

พระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัยศิลปะสมัยสุโขทัย ประดิษฐาน ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK14/chapter3/t14-3-l1.htm

พระศรีศากยทศพลญาณประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ประดิษฐาน ณ พุทธมณฑล ตำบลศาลายา อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐมสร้างสำเร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕ ในสมัยราชกาลที่ ๙ ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี ออกแบบ

http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK14/chapter3/t14-3-l1.htm

หน้าบันลายปูนปั้น วัดราชาธิวาส กรุงเทพมหานคร ทำเป็นซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปยืน สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๕

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก